ตราสินค้าดอยคำ

สายการผลิตในโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ (เต่างอย)

สายการผลิตหลักในปัจจุบัน ได้แก่

  • สายการผลิตมะเขือเทศเข้มข้น เพื่อป้อนตลาดผลิตภัณฑ์ซอสมะเขือเทศ ถือเป็นสายการผลิตหลักของโรงงาน โดยมีกำลังการผลิตสูงสุด ๓๐๐ ตัน/วัน
  • สายการผลิตผลไม้อบแห้ง สายการผลิตรองจากสายการผลิตมะเขือเทศเข้มข้น มีสายการผลิต อาทิ มะม่วง ฝรั่ง กระท้อน แคนตาลูป โดยมีกำลังการผลิต ๖ ตัน/วัน
  • สายการผลิตกระป๋อง รองรับสายการผลิตน้ำธัญพืชต่างๆ อาทิ น้ำข้าวกล้องงอก น้ำมะเขือเทศ และน้ำสำรอง โดยมีกำลังการผลิต ๑๒,๐๐๐ กระป๋อง/วัน
  • สายการผลิตบรรจุข้าวถุง สายการผลิตใหม่ของโรงงาน เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์บรรจุข้าวถุงชนิดต่างๆ อาทิ ข้าวกล้องงอก และข้าวมันปู โดยมีกำลังผลิตเฉลี่ย ๑ ตัน/วัน

โรงงานหลวงฯ ที่ ๓ (เต่างอย)


น้ำมะเขือเทศ ๑๐๐%
รายละเอียด
วิตามิน A สูง ช่วยในการมองเห็น เสริมสร้างเยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย
วิตามิน C สูง ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วยช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน
ไม่มีสารเติมแต่ง ผู้รับประทานเจ สามารถรับประทานได้


มะม่วงอบแห้ง
รายละเอียด
มะม่วงช่วยละลายเสมหะ ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยให้เลือดลมและประจำเดือนของสตรีเป็นปกติ


ฝรั่งอบแห้ง
รายละเอียด
ฝรั่งมีวิตามิน C สูง ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง มีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน และเนื้อเยื่อของเอ็นกระดูกอ่อน


กระท้อนอบแห้ง (ตามฤดูกาล)
รายละเอียด
กระท้อน มีสารแอนติออกซิแดนท์ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ บำรุงโลหิต แก้ลมจุกเสียด แน่นท้อง ป้องกันโรคหวัด และโรคลักปิดลักเปิด เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยในระบบขับถ่าย
ข้อควรระวัง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้


ขิงอบแห้ง
รายละเอียด
คัดสรรขิงอ่อน ไม่มีเสี้ยน หอม นุ่ม หวานเผ็ดกำลังดี รับประทานง่าย
ขิง ช่วยขับเสมหะ ลดอาการคลื่นไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด


แคนตาลูปอบแห้ง
รายละเอียด


เสาวรสอบแห้ง
รายละเอียด


ผลิตภัณฑ์จากมัลเบอร์รี
น้ำมัลเบอร์รีออแกนิค ๑๐๐%
รายละเอียด
จากมัลเบอร์รีหรือผลหม่อน ที่ปลูกโดยวิถีเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ที่โรงเรียนหนองไผ่ ซึ่งได้รับต้นพันธุ์จากศูนย์ขยายหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสกลนคร ให้เป็นแปลงนำร่องของจังหวัดเพื่อถ่ายทอดสู่เด็กนักเรียน และเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชวิถีเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตรกร ซึ่งผลผลิตถูกส่งมาแปรรูปยังโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) จ.สกลนคร
น้ำมัลเบอร์รีออร์แกนิค 100% ตราดอยคำ สกัดจากผลมัลเบอร์รี 100% ไม่มีส่วนผสมน้ำตาล ทั้งวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.)

มัลเบอร์รีอบแห้ง
รายละเอียด
ผลิตจากผลมัลเบอร์รีแท้ คงความเป็นธรรมชาติของมัลเบอร์รีไว้เต็มๆ  มัลเบอร์รี มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และป้องกันโรคมะเร็ง และกรดโฟลิค  ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์  



ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง
รายละเอียด
จากข้าวดอกมะลิพันธุ์ 105 นำมาผ่านการเพาะงอกโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ใน อำเอเต่างอย จังหวัดสกลนคร นอกจากนี้ในกระบวนการเพาะงอกยังทำให้เกิด สารอาหารสำคัญ ดังนี้
สารกาบา (GABA) สารสื่อนำประสาท ช่วยรักษาสมดุลและกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยกระตุ้นต่อมไร้ท่อให้สร้างฮอร์โมนช่วยในการเจริญเติบโต
สารแกมมาออริซานอล (Gamma Oryzanol) สารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดโคเลสเตอรอลที่ไม่ดีในร่างกาย  

สายการผลิต

สายการผลิตต่างๆ

๓.๑ สายการผลิตหลักในปัจจุบัน ได้แก่

สายการผลิตมะเขือเทศเข้มข้น เพื่อป้อนตลาดผลิตภัณฑ์ซอสมะเขือเทศ ถือเป็นสายการผลิตหลักของโรงงานในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๐ ของยอดขายทั้งหมดของโรงงาน เมื่อปรับปรุงสายการผลิตแล้ว จะมีกำลังการผลิต ๒๕๐ ตัน/วัน สายการผลิตผลไม้อบแห้ง สายการผลิตสำคัญอันดับสอง รองจากสายการผลิตมะเขือเทศเข้มข้น คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๐ ของยอดขายทั้งหมดของโรงงานในปัจจุบัน มีสายการผลิต อาทิ มะม่วง ฝรั่ง และกล้วยอบแห้ง  เมื่อปรับปรุงสายการผลิตแล้วสามารถรองรับวัตถุดิบเข้าโรงงานได้ตลอดทั้งปี โดยมีกำลังการผลิต ๒๐๐๐ กิโลกรัม/วัน สายการผลิตกระป๋อง ปัจจุบันมียอดขายประมาณ ๓,๔๘๐,๐๐๐.๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๗.๐ ของยอดขายทั้งหมดของโรงงาน เพื่อรองรับสายการผลิตน้ำธัญพืชต่างๆ อาทิ น้ำข้าวกล้องงอก น้ำมะเขือเทศ และน้ำสำรอง โดยสามารถรองรับวัตถุดิบเข้าโรงงานได้ถึง ๒,๐๐๐ กิโลกรัม/วัน

๓.๒ สายการผลิตใหม่ พร้อมเดินสายการผลิตเมื่อโครงการฯ แล้วเสร็จ ได้แก่

สายการผลิตบรรจุข้าวถุง สายการผลิตใหม่ของโรงงาน เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์บรรจุข้าวถุงชนิดต่างๆ อาทิ ข้าวกล้องงอก และข้าวมันปู โดยมีกำลังผลิตเฉลี่ย ๓๐๐๐ กิโลกรัม/วัน สายการผลิตบรรจุถุง สายการผลิตใหม่ของโรงงาน เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ธัญพืชต่างๆ บรรจุถุง อาทิ น้ำข้าวกล้องงอก สายการผลิตผงพร้อมชง สายการผลิตใหม่ของโรงงาน เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์บรรจุขวดต่างๆ อาทิ ขิงผงพร้อมชง  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กำกับดูแลแนวทางการการปรับปรุงและพัฒนาโรงงานหลวงฯ ที่ ๓ (เต่างอย) ให้เป็นไปตามแนวพระราชดำริ และสนับสนุนงบประมาณการลงทุน การก่อสร้าง และดูแลรับผิดชอบผลกระทบต่อสังคม บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด รับผิดชอบการจัดการโรงงานหลวงฯ ที่ ๓ (เต่างอย) เพื่อให้เป็นโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปต้นแบบ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมอย่างยั่งยืน บริษัท อินทีเรียอาร์คิเทกเชอร์ ๑๐๓ จำกัด รับผิดชอบงานวางผัง ออกแบบสถาปัตยกรรม วิศวกรรมโครงสร้าง วิศวกรรมระบบอาคาร และงานตกแต่งภายใน โดยมุ่งเน้นออกแบบอาคารให้เรียบง่าย ประหยัดพลังงาน และตอบสนองประโยชน์ใช้สอยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของชุมชนเพื่อการอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้ รูปแบบอาคารภายในโครงการ ถอดแบบลักษณะสถาปัตยกรรมจากบ้านพักอาศัยของชุมชนในบริเวณ ซึ่งมีลักษณะเรียบง่าย หลังคาทรงจั่ว บ้านเสายกสูง บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) รับเหมาก่อสร้างอาคารโรงงาน พร้อมอาคารบริวาร และงานภูมิสภาปัตยกรรมอื่นๆ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบและสนับสนุนสินค้าและวัสดุก่อสร้างจากเครือซิเมนต์ไทย โดยมุ่งเน้น ผลิตภัณฑ์สินค้าในหมวด Green Product เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และประหยัดพลังงาน

 

ประชาสัมพันธ์โครงการ
นางสาววิมลภัทร์ ตุงคนาค
โทรศัพท์ ๐๒-๖๘๗-๓๗๘๖
โทรสาร ๐๒-๖๘๗-๓๗๙๒

สายการผลิต

ตราสินค้า  “ดอยคำ”

การดำเนินงานของโรงงานหลวงฯ ทั้ง ๔ แห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีวัตถุประสงค์ที่จะลดขั้นตอนการดำเนินงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ เช่น การสำรวจการใช้ที่ดินแบบ ๔ การบริรักษ์ที่ดิน การชลประทาน งานส่งเสริม งานศัตรูพืช การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว

งานของโรงงานหลวงฯ ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยผลิตสินค้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ตราดอยคำ” ซึ่งได้รับพระราชทานจาก หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยในช่วงแรก ใช้ตราสินค้าร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง มีลักษณะตราสินค้า ดังนี้


ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๓๗  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระบรมราโชบายให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เข้ารับช่วงดำเนินกิจการโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปทั้ง ๔ แห่ง จากมูลนิธิโครงการหลวง จัดตั้งเป็นนิติบุคคลในชื่อ  “บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด” เมื่อ วันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ต่อมาเมื่อมีการขยายตลาดเพิ่มมากขึ้น จึงได้ปรับเปลี่ยนตราสินค้าให้ทันสมัย และเริ่มใช้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นต้นมา ในลักษณะตราสัญลักษณ์ ดังนี้


 
ประเภทสินค้า ตราดอยคำ   แบ่งเป็นประเภท ดังนี้ :
๑) น้ำผัก ผลไม้ น้ำสมุนไพร ธัญพืชพร้อมดื่ม
๒) น้ำผลไม้สกัดเข้มข้น
๓) น้ำผลไม้เข้มข้น
๔) ผลไม้อบแห้ง
๕) แยมผลไม้    
๖) ผลไม้แช่แข็ง
๗) ผัก ผลไม้กระป๋อง
๘) ผลไม้เข้มข้น และ กึ่งเข้มข้น
๙) แป้งถั่วเหลือง
๑๐) น้ำดื่ม
๑๑) เครื่องดื่มสมุนไพรชง

การตลาด
บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด มีตลาดในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่

  • ตลาดในประเทศ : ลูกค้าแบ่งเป็น ๓ ประเภท ที่สำคัญคือ
    ๑. ตลาดผู้บริโภคในประเทศ  ได้แก่
    - กลุ่ม Modern Trade เช่น ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ รวมถึงร้านสะดวกซื้อทั่วไป
    - กลุ่มร้านตัวแทนจำหน่าย  ร้านค้าปลีก ธุรกิจบริการต่างๆประเภท โรงแรม ร้านอาหาร สายการบิน รวมถึง สถาบันต่างๆ ในเครือมูลนิธิโครงการหลวง โครงการตามพระราชดำริ และหน่วยงานราชการทั่วไป
  • ร้านสาขาดอยคำ และหน่วยขายย่อย (Booth)
    ๒. ตลาดอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งใช้ผลิตภัณฑ์ดอยคำ เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า
    ๓. ตลาดว่าจ้างผลิตซึ่งลูกค้าเป็นผู้จัดวัตถุดิบและว่าจ้างโรงงานในการผลิตสินค้าโดยมีข้อตกลงเฉพาะราย
  • ตลาดต่างประเทศ : ได้แก่ ผู้ซื้อเพื่อใช้สินค้า ในต่างประเทศ โดยรวมถึงธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง จนถึงระดับโรงงานอุตสาหกรรม


บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด กับ ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘
ปัจจุบันบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ได้จัดทำระบบการจัดการด้านคุณภาพขึ้นภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑ : ๒๐๐๘ ครอบคลุมถึงระบบการจัดการที่ส่งผลต่อระบบคุณภาพ และการจัดการของบริษัทโดยมีแผนการดำเนินการตามโครงการที่ได้ดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพ และการปรับปรุงระบบการจัดการด้านคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นตามมาตรฐาน ISO ๙๐๐๑:๒๐๐๘  ซึ่งจะประยุกต์ใช้ปฏิบัติทุกโรงงาน เริ่มจากโรงงานหลวงฯ ที่ ๑ (ฝาง) โรงงานหลวงฯ ที่ ๒ (แม่จัน) โรงงานหลวงฯ ที่ ๓ (เต่างอย) สำนักงานกลาง เขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร  และคลังสินค้า สำนักงานกลาง ตามลำดับ